วิตามินเอ (Vitamin A) ประโยชน์ของวิตามินเอ 10 ข้อ !
- วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ซึ่งต้องใช้ไขมันและแร่ธาตุมาช่วยในการดูดซีมเข้าสู่ร่างกาย โดยร่างกายคนเราสามารถเก็บสะสมวิตามินเอได้ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรับประทานอาหารเสริมทดแทนทุกวันแต่อย่างใด
- วิตามินเอแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ วิตามินเอแบบสำเร็จที่เรียกว่า เรตินอล Retinol (พบในอาหารที่มาจากสัตว์เท่านั้น) และโปรวิตามินเอหรือแคโรทีน (พบทั้งพืชและสัตว์) ซึ่งวิตามินเอนั้นมีหน่วยวัดเป็น IU, USP และ RE โดยที่นิยมใช้กันมากก็คือหน่วย IU
- แหล่งอาหารของวิตามินเอที่พบได้โดยทั่วไป เช่น น้ำมันตับปลา ตับ แคร์รอต ผักสีเหลืองและเขียวเข้ม ผักตำลึง ยอดชะอม คะน้า ยอดกระถิน ผักโขม ฟักทอง มะม่วงสุก บรอกโคลี แคนตาลูป แตงกวา ผักกาดขาว มะละกอสุก ไข่ นม มาร์การีน ผลไม้สีเหลือง เป็นต้น
- โทษของวิตามินเอ ได้แก่ อาการปวดกระดูก ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ประจำเดือนมาไม่ปกติ ผมร่วง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ผิวลอก ผมร่วง ตามัว ผดผื่น และอาการตับบวมโต โดยอาจเป็นอันตรายได้สำหรับวัยผู้ใหญ่ที่รับประทานมากกว่า 50,000 IU ต่อเนื่องกันเป็นเวลาหลายเดือน และสำหรับหญิงตั้งครรภ์อาจแท้งลูกได้หากรับประทาน 18,500 IU ต่อเนื่องกันทุกวัน ส่วนเบต้าแคโรทีน หากทานมากกว่า 34,000 IU ต่อเนื่องกันทุกวัน สีผิวอาจเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองได้ และศัตรูของวิตามินเอ ได้แก่ กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนและแคโรทีนจะทำงานขัดแย้งกันกับวิตามินเอ หากในร่างกายมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระไม่เพียงพอ
ประโยชน์ของวิตามินเอ
- ช่วยสร้างภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อในทางเดินหายใจ
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็น ช่วยรักษาโรคตาได้หลายโรค โดยช่วยสร้างเม็ดสีที่มีคุณสมบัติไวต่อแสง
- ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- วิตามินเอช่วยลดระยะเวลาการเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
- ช่วยลดจุดด่างดำ รอยแผลเป็น รอยแผลสิวที่ผิวหนังได้ดี
- ช่วยสร้างเนื้อเยื่อชั้นนอกของอวัยวะต่าง ๆ ให้มีสุขภาพดีขึ้น
- ส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย ผิวพรรณ ผม ฟัน เหงือก และเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก
- รักษาโรคถุงลมโป่งพองและไทรอยด์เป็นพิษได้
- หากใช้ทาบริเวณผิวหนังจะช่วยรักษาสิวได้ ลดริ้วรอยตื้น ๆ
- ช่วยรักษาโรคผิวหนังชนิดเป็นตุ่มพุพองที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ฝี ชันนะตุ และแผลเปิดต่าง ๆ ผลจากการขาดวิตามินเอ จะทำให้นัยน์ตาแห้ง มีอาการตาบอดตอนกลางคืน การขาดวิตามิน สาเหตุอาจมาจากการดูดซึมไขมันบกพร่องเรื้อรัง พบมากในวัยเด็กอายุไม่เกิน 5 ขวบ เนื่องจากการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ
คำแนะนำในการรับประทานวิตามินเอ
- โดย 5,000 IU เป็นขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันสำหรับผู้ใหญ่เพศชาย และ 4,000 IU สำหรับเพศหญิง แต่ในระหว่างตั้งครรภ์ไม่ควรหารับประทานเพิ่มอีกเด็ดขาด แต่สำหรับหญิงผู้ให้นมบุตรแล้ว อาจหาอาหารเสริมรับประทานเพิ่มได้ประมาณ 100 IU ในช่วงหกเดือนแรก และเพิ่มอีก 80 IU ในช่วงหกเดือนหลัง
- ทั้งนี้ เบต้าแคโรทีน ยังไม่มีขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวัน เพราะยังไม่ได้รับการจัดให้เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างเป็นทางการ แต่โดยทั่วไปแล้วเบต้าแคโรทีน 10,000-15,000 IU ถือเป็นขนาดที่เพียงพอและเทียบเท่ากับขนาดที่แนะนำในวิตามินเอ
- วิตามินเอในรูปของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่วางขายส่วนมากจะมี 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบแรกคือแบบที่สกัดจากน้ำมันตับปลาตามธรรมชาติและแบบที่กระจายตัวในน้ำ ซึ่งแบบนี้จะเป็นในรูปของแอซิเทตหรือปาล์มมิเทต เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ควรรับประทานน้ำมัน เช่น ผู้ที่เป็นสิวหรือหน้ามันมาก ๆ ซึ่งขนาดที่แนะนำคือ 5,000-10,000 IU รูปแบบที่สอง กรดวิตามินเอแบบทา (Retin-A) ซึ่งใช้ในการรักษาสิวและการรักษาริ้วรอยเป็นหลัก โดยรูปแบบนี้ต้องใช้ตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
- รูปแบบของวิตามินเอที่จะแนะนำให้รับประทานคือ วิตามินในรูปแบบของเบต้าแคโรทีน เพราะไม่มีความเสี่ยงจากการรับประทานสะสมเหมือนวิตามินเอ และเบต้าแคโรทีนสามารถป้องกันโรคมะเร็งบางชนิดได้ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโดยการเพิ่มจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาว และยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจอีกด้วย
- การรับประทานวิตามินอี 400 IU จะต้องใช้วิตามินเออย่างน้อย 10,000 IU ควบคู่กัน
- การรับประทานยาคุมกำเนิดจะทำให้ร่างกายมีความต้องการวิตามินเอน้อยลง
- หากรับประทานแคร์รอต ตับ ผักขม มันเทศ แคนตาลูป ในปริมาณมากเป็นประจำอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องรับประทานวิตามินเอจากอาหารเสริมอีก
- ไม่ควรรับประทานวิตามินเอร่วมกับน้ำมันสกัดจากธรรมชาติ
- วิตามินเอจะทำงานร่วมกับ วิตามินบีรวม วิตามินดี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุสังกะสีได้ดีที่สุด
- วิตามินเอช่วยป้องกันไม่ให้วิตามินซีถูกออกซิไดซ์
- หากรับประทานยาลดระดับคอเลสเตอรอล ร่างกายจะดูดซึมวิตามินได้น้อยลง และอาจจะหามาต้องรับประทานเสริม
- หญิงมีครรภ์ไม่ควรใช้วิตามินเอในทุก ๆ กรณี เพราะเป็นยาที่ออกฤทธิ์แรง ซึ่งเด็กทารกในครรภ์อาจพิการได้
แหล่งอ้างอิง : หนังสือวิตามินไบเบิล (ดร.เอิร์ล มินเดลล์)
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (MedThai)
------------------------------------------------------------------------------------
สนใจสินค้าสุขภาพและความงาม http://www.moryanaresuan.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น