8 ประโยชน์ของโคลีน (Choline) !
- โคลีน (Choline) เป็นหนึ่งในสารที่ช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญไขมันในร่างกาย และจัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบีรวม โดยโคลีนจะทำงานร่วมกับอิโนซิทอลในกระบวนการใช้ไขมันและคอเลสเตอรอลของร่างกาย
- โคลีนเป็นสารที่สามารถผ่านระบบกรองระหว่างเลือดและสมอง ซึ่งเป็นระบบที่ปกป้องสมองจากสารหลากหลายในอาหารที่เรารับประทานเข้าไป โดยโคลีนจะตรงเข้าไปยังเซลล์สมองเพื่อผลิตสารเคมีที่ช่วยในเรื่องความทรงจำ และยังช่วยในการกระจายตัวของคอเลสเตอรอล ไม่ให้คอเลสเตอรอลเกาะที่ผนังเส้นเลือดแดงหรือผนังของถุงน้ำดี โดยการใช้โคลีนในร่างกายจะขึ้นอยู่กับ วิตามินบี 12 กรดโฟลิก และกรดอะมิโนแอล-คาร์นิทีน
- สำหรับแหล่งที่พบโคลีนตามธรรมชาติ ได้แก่ ไข่แดง เนื้อสัตว์ หัวใจ สมอง ตับ ปลา ผักใบเขียว ยีสต์ จมูกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ถั่วเหลือง ถั่วลิสง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก เป็นต้น
- ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ในปัจจุบันยังไม่พบผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายหากมีการรับประทานในปริมาณมากติดต่อกันทุกวัน และศัตรูของโคลีน ได้แก่ น้ำ กระบวนการแปรรูปอาหาร แอลกอฮอล์ ยาในกลุ่มซัลฟา ฮอร์โมนเอสโตรเจน
- โรคจากการขาดโคลีน ได้แก่ โรคอัลไซเมอร์ โรคตับแข็งหรือไขมันสะสมที่ตับ ผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัว
ประโยชน์ของโคลีน
- ช่วยลดการสะสมตัวของคอเลสเตอรอลได้
- ช่วยทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย
- ช่วยกำจัดสารพิษและยาที่ค้างในร่างกาย โดยช่วยเสริมการทำงานของตับ
- ช่วยในกระบวนการส่งกระแสประสาท โดยเฉพาะในสมองส่วนที่ทำงานที่ด้านความจำ
- ช่วยต่อสู้กับปัญหาความจำเสื่อมในวัยสูงอายุ (ด้วยขนาด 1,000 – 5,000 มิลลิกรัม ต่อวัน)
- ช่วยรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้
- ช่วยป้องกันภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือด
- ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
คำแนะนำในการรับประทานโคลีน
- โคลีนมักพบในรูปแบบของวิตามินบีรวม โดยจะมีโคลีนและอิโนซิทอลอยู่ประมาณ 50 มิลลิกรัม หรือพบได้ในรูปของเลซิทินแบบแคปซูลซึ่งทำมาจากถั่วเหลือง โดยมีโคลีนและอิโนซิทอลอยู่อย่างละประมาณ 244 มิลลิกรัม และอาจมีวางจำหน่ายในรูปของฟอสฟาทิดิลโคลีนหรือฟอสฟาทิดิลอิโนซิทอล
- ในปัจจุบันยังไม่มีขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันอย่างเป็นทางการ แต่มีการประมาณว่าในวัยผู้ใหญ่สามารถรับประทานได้ประมาณ 500 – 900 มิลลิกรัมต่อวัน
- แต่ขนาดที่แนะนำให้รับประทานโดยทั่วไปต่อวันคือประมาณ 500 – 1,000 มิลลิกรัม
- คุณควรรับประทานโคลีนที่อยู่ในรูปของวิตามินบีรวม
- การรับประทานโคลีนอาจช่วยลดภาวะอาการตื่นตระหนกตกใจบ่อย ๆ ได้
- เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพด้านความทรงจำ คุณควรรับประทานโคลีนให้มากขึ้น
- การรับประทานเลซิทินเสริม อาจจะต้องรับประทานแคลเซียมเสริมด้วยเพื่อให้ระดับของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกายสมดุลกัน เนื่องจากโคลีนเพิ่มการดูดซึมของฟอสฟอรัส
- สำหรับผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำควรจะรับประทานโคลีนเสริม เพื่อช่วยลดการทำงานหนักของตับ
แหล่งอ้างอิง : หนังสือวิตามินไบเบิล (ดร.เอิร์ล มินเดลล์)
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (MedThai)
------------------------------------------------------------------------------------
สนใจสินค้าสุขภาพและความงาม http://www.moryanaresuan.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น