แฟ้มภาพ
นับเป็นสิ่งที่เห็นได้บ่อยขึ้นทุกวัน สำหรับพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในกลุ่มเยาวชน ที่ออกเป็นข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์แทบทุกวัน เราคงต้องย้อนกลับไปถึงจุดเริ่มต้นตั้งแต่เด็กๆ วิธีการเลี้ยงดูบุตรหลานอย่างไรไม่ให้เติบโตใหญ่เป็นคนนิยมใช้ความรุนแรง
พ่อแม่คือตัวแบบ
การปล่อยให้เด็กทำตามอำเภอใจการเข้าข้างลูกทั้งที่กระทำความผิด รวมไปถึงพฤติกรรมที่เราแสดงออกมา ถ้าเราแสดงพฤติกรรมทางด้านลบ ลูกก็จะเลียนแบบความรุนแรง ฉะนั้นควรตัวเป็นตัวอย่างพฤติกรรมด้านบวก เมื่อมีบางสิ่งทำให้คุณโกรธหรือทำให้คุณไม่พอใจ คุณควรจัดการกับความโกรธหรือความไม่พอใจของคุณอย่างใจเย็น จัดการด้วยอารมณ์สงบและเป็นผู้ใหญ่ วิธีการแก้ไขคือให้ทางเลือกกับลูกของคุณในการแสดงออกถึงความโกรธ ถ้าหากเขาโกรธหรือมีอารมณ์ไม่พอใจควรสอนให้ลูกรู้จักปลดปล่อยอารมณ์โกรธอย่างถูกต้อง อาทิ พาลูกออกไปเล่นเตะหรือขว้างลูกบอลข้างนอก พาลูกขี่จักรยานหรือพาลูกเดินเล่น ให้ลูกได้เล่นต่อยหมอน หาหมอนที่ลูกสามารถต่อยได้แรงเท่าที่ลูกจะปลดปล่อยอารมณ์ออกมาได้ เปิดเพลงและเชียร์ให้ลูกร้องตามเพลงออกมาดัง ๆ เท่าที่ลูกจะทำได้โดยร้องไปด้วยกันกับคุณ ให้ลูกได้แช่น้ำอุ่น ๆ ในอ่างอาบน้ำพร้อมกับให้ของเล่น
ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด คุณควรสอนให้ลูกเล่าหรือแบ่งปันความรู้สึกที่ลูกมีให้คุณได้รับรู้ คุณเป็นคนที่ลูกไว้ใจ สอนให้รู้จักช่วยเหลือผู้อื่นจะช่วยให้เขาผ่านพ้นอาการโกรธนี้ไปได้ด้วยดีไม่เป็นคนที่ใช้ความรุนแรง
ครอบครัวคือตัวอย่าง
นอกจากนี้การเปิดรับสื่อยังเป็นอีกตัวกระตุ้นหนึ่งที่ทำให้เด็กเกิดความรุนแรงโดยมองว่าเป็นเรื่องปกติ เรื่องความกล้า ผู้ปกครองควรมีเวลาให้บุตรหลาน โดยเฉพาะเด็ก 2-3 ขวบ พ่อแม่บางคนคิดว่าลูกยังรับรู้ และจดจำได้ไม่ดี จึงมองข้ามช่วงเวลานี้ไป ปล่อยให้ลูกดูโทรทัศน์ตามลำพัง ให้เล่นกับพี่เลี้ยง ตรงนี้เป็นการใช้เวลาอยู่ด้วยกันแค่ตัว แต่ใจไม่ได้อยู่ด้วยกัน หรือบางคนชดเชยด้วยสิ่งของ ทำให้เด็กคิดว่าความรักคือสิ่งของที่ได้มา พอวันหลังอยากได้ความรัก ก็จะเรียกร้องเอาสิ่งของ ส่งผลให้ความมั่นคงทางอารมณ์ของเด็กตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเอาใจแต่ได้ จนนำมาซึ่งความรุนแรง
เพราะเด็กที่เป็นโรคเอาแต่ใจ จะมีอาการดื้อต่อต้านอย่างรุนแรง ทำอะไรก็หงุดหงิด โมโหง่าย ต่อต้านทุกอย่าง พ่อแม่พูดอะไรก็ไม่ฟัง บางครั้งก็อาละวาด หมายปองเจตนาร้าย ทำลายข้าวของในบ้าน รังแกผู้อื่น
หัวใจคือกุญแจสำคัญ
ควรระลึกอยู่เสมอว่าสิ่งที่ลูกต้องการไม่ใช้สิ่งของหรือของเล่นราคาแพง แต่สิ่งที่ลูกต้องการ คือ ความรัก ความผูกพันที่พ่อแม่มอบให้กับลูก ยิ่งอายุเข้าหลัก 4-5 ขวบ ซึ่งเป็นวัยที่พร้อมจะเรียนรู้ทางด้านอารมณ์ รู้จักหยุดพฤติกรรมตัวเอง พ่อแม่จะต้องใช้ความพยายามในการสังเกตความต้องการของลูก ทั้งด้านกายภาพ และด้านจิตใจ ด้วยการสร้างบรรยากาศภายในบ้านให้เกิดความผูกพันระหว่างกันและกัน สร้างเวลาคุณภาพ ที่พ่อแม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับลูก รวมทั้งเน้นกิจกรรมร่วมกัน ที่สำคัญฝึกใช้เหตุผลกับลูกจนเกิดเป็นนิสัย ควรใช้คำพูดที่สามารถเข้าใจง่าย ไม่ควรเน้นหลักการมากเกินไป
ที่มา : manager.co.th
ที่มา : manager.co.th
------------------------------------------------------------------------------------
สนใจสินค้าสุขภาพและความงาม http://www.moryanaresuan.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น